ทริปส์กับการสาธารณสุข: คำถามที่พบบ่อย (TRIPS)
การบังคับใช้สิทธิ ( compulsory licensing ) คืออะไร?
คือ การที่รัฐบาลอนุญาตให้ผู้อื่นใดผลิตในสิ่งที่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีสิทธิบัตร หรือใช้กระบวนการผลิตที่มีสิทธิบัตรในการผลิตสิ่งนั้นๆ โดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองสิทธิบัตร. เป็นหนึ่งในข้อผ่อนปรนต่างๆเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิบัตรที่อยู่ในข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก ( WTO ) – ที่เรียกว่าข้อตกลงทริปส์ ( TRIPS : Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights).
ข้อผ่อนปรนต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องใหม่หรือไม่
ไม่ใหม่. ข้อผ่อนปรนต่างๆเหล่านี้อยู่ในข้อตกลงทริปส์ , ตั้งแต่ข้อตกลงทริปส์มีผลในทางปฏิบัติเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๓๘.
แต่ ปฏิญญาสากลระดับรัฐมนตรีที่กรุงโดฮา หรือ ปฏิญญาโดฮา (DOHA Declaration)ที่ว่าด้วย “ข้อตกลงทริปส์และการสาธารณสุข พ.ศ.2545(TRIPS Agreement and Public Health,2003)” เกี่ยวกับอะไร? มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือไม่?
ไม่เปลี่ยนแปลง. สองบทบัญญัติ ใช้กับประเทศต่างๆที่พัฒนาน้อย และ ประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิต หลักใหญ่ใจความปฏิญญานี้มีความสำคัญสำหรับการอธิบายข้อผ่อนปรนต่างๆของข้อตกลงทริปส์ให้ชัดเจน และ ทำให้รัฐบาลต่างๆมั่นใจว่า ตนสามารถใช้ข้อผ่อนปรนเหล่านี้ได้ , ทั้งนี้เนื่องจาก มีบางรัฐบาลไม่มั่นใจเกี่ยวกับการตีความข้อผ่อนปรน.
กรณีทั่วไปสำหรับการบังคับใช้สิทธิเป็นอย่างไร?
กรณีทั่วไปคือ การผลิตยาชื่อสามัญเพื่อใช้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ , ไม่ใช่เพื่อการส่งออก.
นี่เท่ากับเป็นการฉีกสิทธิบัตรทิ้งใช่ไหม?
ไม่ใช่. ผู้ครอบครองสิทธิบัตรยังคงมีสิทธิต่างๆในสิทธิบัตรนั้น, รวมทั้งมีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนจากการให้อำนาจในการผลิตเลียนแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ.
จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องฉุกเฉินหรือไม่?
ไม่จำเป็น. ประเด็นนี้ มักมีความเข้าใจผิดกัน. ข้อตกลงทริปส์นั้น ไม่ได้ระบุเหตุผลต่างๆอย่างจำเพาะเจาะจง ที่อาจใช้อ้างกัน เพื่อการบังคับใช้สิทธิ. อย่างไรก็ตาม, ปฏิญญาโดฮาที่เกี่ยวกับทริปส์กับการสาธารณสุข ได้ยืนยันว่า ประเทศต่างๆมีอิสระในการกำหนดหลักการพื้นฐานสำหรับการบังคับใช้สิทธิ.
ข้อตกลงทริปส์นั้น ระบุเงื่อนไขบางประการสำหรับการบังคับใช้สิทธิ, อยู่ในมาตรา 31. โดยเฉพาะข้อความต่อไปนี้:
โดยปกติ,บุคคลหรือบริษัทที่ยื่นขอใช้สิทธิในกระบวนการบังคับใช้สิทธิจะต้องพยายามต่อรองกับผู้ครอบครองสิทธิบัตรในเรื่องเชิงพาณิชย์ที่สมเหตุสมผลให้เกิดความสมัครใจก่อน. ถ้าล้มเหลว,จึงจะดำเนินการบังคับใช้สิทธิได้, และ
เมื่อออกใบอนุญาตสิทธิที่ได้จากการบังคับนั้นให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว, ผู้ครอบครองสิทธิบัตรจะต้องยอมรับการชำระค่าตอบแทนนั้นๆ; ข้อตกลงทริปส์นี้ระบุว่า "ผู้ครอบครองสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนอย่างเพียงพอขึ้นกับสภาพแวดล้อมในแต่ละกรณี, โดยคำนวณว่าการให้อำนาจนั้น เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจเพียงใด", แต่ไม่มีการตีความคำว่า "ค่าตอบแทนอย่างเพียงพอ(adequate remuneration)" หรือคำว่า "คุณค่าทางเศรษฐกิจ(economic value)".
ยังมีอีก. การบังคับใช้สิทธิจะต้องมีข้อกำหนดบางประการเพิ่มเติมอีก เช่น: ไม่สามารถให้เอกสิทธิผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้รับโอนสิทธิ ( ผู้ครอบครองสิทธิบัตรยังสามารถผลิตต่อไปได้), และควรมีการทบทวนเพื่อแก้ไขกฎหมายในประเทศให้มีความสอดคล้องกันด้วย.
คุณได้พูดว่า "โดยปกติ" .
ใช่, นี่แหละที่ความสับสนเกี่ยวกับเรื่องฉุกเฉินจึงบังเกิดขึ้น. สำหรับ"เรื่องฉุกเฉินระดับชาติ", "ภาวะเร่งด่วนสุดยอดอื่นๆ" หรือ "การใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะที่มิใช่เชิงพาณิชย์" (หรือ "การใช้ประโยชน์โดยรัฐบาล") นั้น,ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความพยายามเป็นขั้นแรกเพื่อให้ได้สิทธิด้วยความสมัครใจ. เป็นเพียงกรณีเดียวที่ข้อตกลงทริปส์เชื่อมโยงเรื่องฉุกเฉินไปสู่การบังคับใช้สิทธิโดยเฉพาะเจาะจง: วัตถุประสงค์ก็คือ เพื่อที่จะบอกว่า ขั้นตอนแรกที่เป็นการต่อรองเพื่อให้ได้สิทธิโดยสมัครใจนั้น สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย เพื่อจะได้ไม่เสียเวลา. อย่างไรก็ตาม,ก็ยังต้องจ่ายให้แก่ผู้ครอบครองสิทธิบัตรอยู่ดี.
ใครจะเป็นคนตัดสินว่า การจ่ายเงินค่าตอบแทนนั้น"เพียงพอ" หรือไม่?
อำนาจรัฐในประเทศนั้นๆเป็นผู้ตัดสิน. ข้อตกลงทริปส์ยังระบุว่า ผู้ครอบครองสิทธิบัตรจะต้องได้รับสิทธิที่จะอุทธรณ์ในประเทศนั้นๆได้ด้วย.
และมีกรณีเกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงทริปส์ไหม? มีอะไรที่เปลี่ยนแปลง?
ใช่, มีกรณีกันอยู่บ่อยๆ. สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คือ บทบัญญัติหนึ่งที่เคยระบุไว้ว่า การบังคับใช้สิทธินั้น กระทำเพื่อผลิตป้อนให้กับการใช้ในประเทศเป็นหลัก(วรรค (f) ของมาตรา 31). การประชุมองค์การการค้าโลกระดับรัฐมนตรีที่เมืองโดฮาในปี2001 ได้มีข้อยุติให้เปลี่ยนแปลงข้อความนี้เพื่อให้ประเทศต่างๆที่ไม่สามารถผลิตยาได้นั้น มีโอกาสได้รับยาชื่อสามัญที่ถูกกว่าจากที่อื่นในยามจำเป็น.
วันที่ 30 สิงหาคม 2546 ได้มีการตกลงกันว่าจะเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีทางกฎหมาย เมื่อสมัชชาทั่วไปได้ชี้ขาดให้ยกเลิกบทบัญญัตินั้น, และอนุญาตให้สามารถส่งออกยาชื่อสามัญที่ผลิตภายใต้การบังคับใช้สิทธิไปยังประเทศต่างๆที่ไม่มีความสามารถในการผลิต, ส่วนเงื่อนไขและวิธีการต่างๆนั้น ก็ได้มีการกำหนดในเวลาต่อมา.
ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกทั้งหมดมีสิทธิที่จะนำเข้ายาได้ภายใต้คำชี้ขาดนี้, แต่มีประเทศที่พัฒนาแล้วจำนวน 23 ประเทศที่ได้ขึ้นบัญชีไว้ในคำชี้ขาดนี้ประกาศตนว่า จะไม่ใช้ระบบนี้ในการนำเข้า ได้แก่: ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, แคนาดา, เดนมาร์ค, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, ลักเซมเบอร์ก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, โปรตุเกส, สเปน, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา. เมื่อมีการรวมประเทศต่างๆเพิ่มเข้าในสหภาพยุโรปอีก, ดังนั้นบัญชีนี้จึงเพิ่มขึ้นอีก 10 ประเทศ ได้แก่: เชครีพับลิก, ไซปรัส, เอสโตเนีย, ฮังการี, ลัทเวีย, ลิธัวเนีย, มอลตา, โปแลนด์, สโลวัครีพับลิก และ สโลวีเนีย.
นอกจากนี้ยังมีการบันทึกข้อความเพิ่มเติมแยกไว้ต่างหากว่า, มีอีก 11 ประเทศที่สมัครใจประกาศว่า ตนอาจจะใช้ระบบนี้ในฐานะผู้นำเข้าเฉพาะสถานการณ์ฉุกเฉินของชาติหรือภาวะเร่งด่วนสุดยอดเท่านั้น ประเทศเหล่านี้ได้แก่: ฮ่องกง, อิสราเอล, เกาหลี, คูเวต, มาเก๊า, เม็กซิโก, กาตาร์, สิงคโปร์, ไทเป, ตุรกี, และ สาธารณรัฐอาหรับอีมิเรตส์.
ดังนั้น อุปสรรคทั้งหมดได้ถูกขจัดไปแล้ว?
ไม่หมดทีเดียว. การยกเลิกโดยองค์การการค้าโลกดังกล่าวยังไม่พอเพียง. การที่จะใช้ระบบนี้ได้,ประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้ส่งออกจะต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายของตนด้วย. กฎหมายของประเทศเหล่านี้จะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติดั้งเดิมของทริปส์ที่กำหนดว่า การผลิตภายใต้การบังคับใช้สิทธิจะต้องเป็นไปเพื่อตลาดในประเทศเป็นหลัก. ถึงขณะนี้ นอร์เวย์, แคนาดา และอินเดีย ได้แจ้งต่อประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก(ผ่านสมัชชาทริปส์) ว่า กฎหมายใหม่และระเบียบต่างๆของตนเข้าที่เข้าทางแล้ว.
ส่วนสหภาพยุโรป, สวิตเซอร์แลนด์ และสาธารณรัฐเกาหลี ได้กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายของตนใกล้ที่จะสมบูรณ์แล้ว.
แล้ว! ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดละ?
ประเทศเหล่านี้สามารถชะลอเวลาในการคุ้มครองสิทธิบัตรยาออกไปจนกระทั่งถึงปี 2559. เมื่อไม่มีการจดสิทธิบัตรยาในประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด, ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงไม่จำเป็นต้องบังคับใช้สิทธิเพื่อนำเข้า. แต่ประเทศผู้จำหน่ายสิ จะต้องบังคับใช้สิทธิเพื่อผลิตและส่งออกยาชื่อสามัญของยาที่มีการจดสิทธิบัตรในประเทศนั้นๆ.
ขอความชัดเจนว่า, การบังคับใช้สิทธิต้องกระทำภายใต้ข้อตกลงทริปส์ดั้งเดิม ไม่ได้กระทำภายใต้คำชี้ขาดใหม่เมื่อปี 2546 ใช่ไหม?
ถูกต้อง. คำชี้ขาดเมื่อปี 2546 [บางครั้งเรียก "คำชี้ขาดวรรคที่ 6(Paragraph 6)" เพราะหมายถึงวรรคดังกล่าวในปฏิญญาโดฮา) เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้สิทธิในการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น. เรื่องราวอีกมากมายคือ ความเป็นไปได้ในการบังคับใช้สิทธิเพื่อตลาดในประเทศ. ซึ่งมักเป็นไปได้เสมอ.
ถอดความจาก
General FAQ about TRIPS at:http://www.wto.org/english/tratop_e/trips_e/tripfq_e.htm
No comments:
Post a Comment